เมนู

สารีปุตตสูตรที่ 16


ว่าด้วยความไม่สะดุ้งกลัว


ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า
[423] พระศาสดา ผู้มีพระวาจา
ไพเราะอย่างนี้ เสด็จมาแต่ชั้นดุสิต สู่ความ
เป็นคณาจารย์ ข้าพระองค์ยังไม่ได้เห็นหรือ
ไม่ได้ยินต่อใคร ๆ ในกาลก่อนแต่นี้เลย.
พระองค์ผู้มีพระจักษุย่อมปรากฏแก่
มนุษย์ทั้งหลาย เหมือนปรากฏแก่โลกพร้อม
ด้วยเทวโลก ฉะนั้น พระองค์ผู้เดียวบรรเทา
ความมืดได้ทั้งหมด ทรงถึงความยินดีใน
เนกขัมมะ.
ศิษย์ทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้นเป็นอัน
มาก มาเฝ้าพระองค์ผู้เป็นพุทธะ ผู้อันตัณหา
และทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ ไม่หลอกลวง
เสด็จมาเเล้วสู่ความเป็นคณาจารย์ ณ เมือง
สังกัสสะนี้ ด้วยปัญหามีอยู่.
เมื่อภิกษุเกลียดชังแต่ทุกข์ มีชาติเป็น
ต้นอยู่ เสพที่นั่งอันสงัด คือ โคนไม้ ป่าช้า
หรือที่นั่งอันสงัดในถ้ำแห่งภูเขา ในที่นอน

อันเลวและประณีต ความขลาดกลัวซึ่งเป็น
เหตุจะไม่ทำให้ภิกษุหวั่นไหว ในที่นอนและ
ที่นั่งอันไม่มีเสียงกึกก้องนั้น มีประมาณ
เท่าไร.
อันตรายในโลกของภิกษุผู้จะไปยัง
ทิศที่ไม่เคยไป ซึ่งภิกษุจะพึงครอบงำเสีย
ในที่นอนและที่นั่งอันสงัด มีประมาณเท่าไร.
ภิกษุนั้นพึงถ้อยคำอย่างไร พึงมี
โคจรในโลกนี้อย่างไร ภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว
พึงมีศีลและวัตรอย่างไร สมาทานสิกขาอะไร
จึงเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ มีปัญญารักษาตน มี
สติ พึงกำจัดมลทินของตน เหมือนนายช่าง
ทองกำจัดมลทินของทอง ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนสารีบุตร ถ้าว่าธรรมเป็นเครื่อง
อยู่สำราญ และธรรมที่สมควรนี้ใดของภิกษุ
ผู้เกลียดชังแต่ทุกข์มีชาติเป็นต้น ผู้ใคร่จะ
ตรัสรู้ เสพอยู่ซึ่งที่นั่งและที่นอนอันสงัดมีอยู่
ไซร้ เราจะกล่าวธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญ
และธรรมที่สมควรนั่นตามที่รู้ แก่เธอ.

ภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ประ-
พฤติอยู่ในเขตแดนของตน ไม่พึงกลัวแต่
ภัย 5 อย่าง คือ เหลือบ ยุง สัตว์เสือก
คลาน ผัสสะแห่งมนุษย์ (มีมนุษย์ผู้เป็นโจร
เป็นต้น) สัตว์สี่เท้า.
ภิกษุแสวงหากุศลธรรมอยู่เนือง ๆ
ไม่พึงสะดุ้งแม้ต่อเหล่าชนผู้ประพฤติธรรม
อื่นนอกจากสหธรรมิก แม้ได้เห็นเหตุการณ์
อันนำมาซึ่งความขลาดกลัวเป็นอันมากของ
ชนเหล่านั้น และอันตรายเหล่าอื่น ก็พึง
ครอบงำเสียได้.
ภิกษุอันผัสสะแห่งโรค คือ ความหิว
เย็นจัด ร้อนจัด ถูกต้องแล้ว พึงอดกลั้น
ได้ ภิกษุนั้นเป็นผู้อันโรคเหล่านั้นถูกต้อง
แล้วด้วยอาการต่าง ๆ ก็มิได้ทำโอกาสให้แก่
อภิสังขารเป็นต้น พึงบากบั่นกระทำความ
เพียรให้มั่นคง.
ไม่พึงกระทำการขโมย ไม่พึงกล่าว
คำมุสา พึงแผ่เมตตาไปยังหมู่สัตว์ทั้งที่สะดุ้ง
และมั่นคง ในกาลใด พึงรู้เท่าทันความที่ใจ
เป็นธรรมชาติขุ่นมัว ในกาลนั้น พึงบรรเทา
เสียด้วยคิดว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งธรรมดำ.

ไม่พึงลุอำนาจแห่งความโกรธและ
การดูหมิ่นผู้อื่น พึงขุดรากเหง้าแห่งความ
โกรธ และการดูหมิ่นผู้อื่นเหล่านั้นแล้วดำรง
อยู่ เมื่อจะครอบงำ ก็พึงครอบงำความรัก
หรือความไม่รักเสียโดยแท้.
ภิกษุผู้ประกอบด้วยปีติอันงาม มุ่ง
บุญเป็นเบื้องหน้า พึงข่มอันตรายเหล่านั้น
เสีย พึงครอบงำความไม่ยินดีในที่นอนอัน
สงัด พึงครอบงำธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ร่ำไรทั้ง 4 อย่าง.
ผู้เป็นเสขะ ไม่มีความกังวลเที่ยวไป
พึงปราบวิตกอันเป็นที่ตั้งแห่งความร่ำไร
เหล่านี้ว่า เราจักบริโภคอะไร หรือว่าเราจัก
บริโภคที่ไหน เมื่อคืนนี้เรานอนเป็นทุกข์นัก
ค่ำวันนี้เราจักนอนที่ไหน.
ภิกษุนั้นได้ข้าวและที่อยู่ในกาลแล้ว
พึงรู้จักประมาณ (ในการรับและในการบริ-
โภค) เพื่อความสันโดษในศาสนานี้ ภิกษุ
นั้นคุ้มครองแล้วในปัจจัยเหล่านั้น สำรวม
ระวังเที่ยวไปในบ้าน ถึงใคร ๆ ด่าว่าเสียดสี
ไม่พึงกล่าวว่าหยาบ.

พึงเป็นผู้มีจักษุทอดลง ไม่คะนอง
เท้า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็นผู้ตื่น
อยู่โดยมาก ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่นดี
พึงตัดเสียซึ่งธรรมเป็นที่อยู่แห่งวิตกและ
ความคะนอง.
ภิกษุผู้อันอุปัชฌาย์เป็นต้น ตักเตือน
แล้วด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติ ยินดีรับคำตัก
เตือนนั้น พึงทำลายตะปู คือความโกรธใน
สพรหมจารีทั้งหลาย พึงเปล่งวาจาอันเป็น
กุศล อย่าให้ล่วงเวลาไป ไม่พึงคิดในการ
กล่าวติเตียนผู้อื่น.
ต่อแต่นั้น พึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อ
ปราบธุลี 5 อย่างในโลก ครอบงำความกำ-
หนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ.
ครั้นปราบความพอใจในธรรมเหล่านี้
ได้แล้ว พึงเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดี
พิจารณาธรรมอยู่โดยชอบ โดยกาลอันสม-
ควร มีจิตแน่วแน่ พึงกำจัดความมืดเสียได้
ฉะนี้แล.

จบสารีปุตตสูตรที่ 16
จบอัฏฐกวรรคที่ 4

สารีปุตตสูตรที่ 16


สารีปุตตสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า น เม ทิฏฺโฐ ข้าพระองค์ไม่ได้เห็น
ดังนี้. ท่านกล่าวว่า เถรปัญหสูตรบ้าง.
พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?
การเกิดพระสูตรนี้มีอยู่ว่า เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ได้ปุ่มไม้จันทน์แดง
แล้วเอาปุ่มจันทน์แดงทำบาตร ยกแขวนไว้บนอากาศ การห้ามสาวกทั้งหลาย
แสดงฤทธิ์ในเพราะเรื่องนั้น พวกเดียรถีย์ประสงค์จะทำปาฏิหาริย์กับพระผู้มี
พระภาคเจ้า. การทำปาฏิหาริย์, การเสด็จไปกรุงสาวัตถีของพระผู้มีพระภาคเจ้า
การติดตามของพวกเดียรถีย์, การเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าของพระเจ้าปเสนทิ ณ
กรุงสาวัตถี ความปรากฏแห่งต้นคัณฑัมพพฤกษ์, การห้ามบริษัท 9 แสดง
ปาฏิหาริย์ เพื่อเอาชนะเดียรถีย์, การกระทำยมกปาฏิหาริย์, การเสด็จไปดาวดึงส์
พิภพของพระผู้มีพระภาคเจ้าหลังจากทรงทำปาฏิหาริย์แล้ว การแสดงธรรมสิ้น
ไตรมาส ณ ดาวดึงส์พิภพนั้น และการเสด็จสงจากเทวโลกในสังกัสสนครกับ
ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ด้วยประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังเรื่องเหล่านั้น และชาดกให้พิสดารเป็นลำ
ดับ ๆ ไป ตลอดถึงพวกเทวดาในหมื่นจักรวาลพากันบูชา เสด็จลงที่สังกัสส-
นคร โดยบันไดแก้วในท่ามกลาง ประทับยืน ณ เชิงบันใด เมื่อจะตรัสพระ-
คาถาในธรรมบทนี้จึงตรัสว่า
ชนเหล่าใดขวนขวายแล้วในฌาน
เป็นนักปราชญ์ ยินดีในเนกขัมมะและความ
สงบ แม้เทวดาทั้งหลายก็รักชนเหล่านั้น ผู้
ตรัสรู้พร้อมแล้ว ผู้มีสติ
ดังนี้.